เชื่อว่าในช่วงนี้หลายๆคนคงได้ยิน “ชุกโกโกวาที่หนูอยากได้” หลอนหูเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นคนดัง ยูทูปเบอร์ หรือแม้กระทั่งในบทความนี้ เราก็กำลังจะพูดถึงเจ้าชุดโกโกว่านี้เหมือนกัน แต่ว่าอาจมีอีกบางแง่มุมที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน วันนี้ไฮสกิลจะเล่าให้ฟัง
ที่มาของเพลงชุดโกโกวา
จริงๆเจ้าของเพลงคือ นายทิพรุยทธ กองศรีมา หรือต้องแต้ง เล่าว่าเพลงชุดโกโกวามีจุดเริ่มต้นมาจากการเป็นคอนเทนต์เลียนแบบมาจากตุ๊กตาชื่อ “ยองฮี” ใช้ชุดเดรสกระโปรงสีส้ม เสื้อคอปกสีเหลือง ผมหน้าม้า มัดผมแกละ 2 ข้าง ในซีรีย์เรื่อง Squid Game ซึ่งเป็นตุ๊กตาสังหาร โดยจะร้องเพลงว่า “มู กุง ฮวา โก ชี พี ออด ซึม นี ดา” หากร้องจบ ผู้เล่นเกมไม่หยุดนิ่ง จะฆ่าทันที แต่น้องๆของคุณต้องแต้งพูดผิดว่า “โกโกวาคิมิซึนิดา” จนกลายเป็นกระแส “โกโกวาคิมิซึนิดา” ใน Tiktok
จริงๆแล้วชุดโกโกวาคือชุดเอี๊ยม
แม้ว่าจะเป็นชุดสีส้มน่ารักสดใสแต่จริงๆและชุดโกโกวาที่เราเห็นในซีรีส์นั้นคือชุดเอี๊ยมธรรมดาๆทั่วไปนี่แหละที่ปัจจุบันเหล่าบรรดาเซเลปเช่น A$AP Rocky, Will Smith ก็ยังใส่และชุดเอี๊ยมเองก็เป็นแฟชั่นที่ไม่เคยตกเทรนด์มาตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา
ที่มาที่ไปของชุดเอี๊ยม
หากจะย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของชุดโกโกวาซึ่งก็คือชุดเอี๊ยมนั่นเอง คงต้องย้อนกลับไปไกลถึงช่วงศตวรรษที่ 17 ในประเทศอินเดียโดยทหารอังกฤษได้นำเอาผ้าที่ชื่อว่า “ดุงกรี” มาตัดเป็นชุดทหาร ด้วยคุณสมบัติผ้าที่แข็งแรง ทนทานและราคาถูก จากหมู่บ้าน “ดุงกรี” ที่เชื่อได้ว่าเป็นหมู่บ้านต้นกำเนิดผ้าชนิดนี้ และต่อมาชาวอังกฤษก็ได้เรียกชื่อผ้าชนิดนี้ใหม่ว่า “ดุงการี”
Levis ผู้ให้กำเนิดความยอดนิยมของชุดเอี๊ยม
ในช่วงทศวรรษที่ 1890 Levi Strauss บิดาผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนส์ที่ทุกคนต่างรู้จักอย่าง Levis พร้อมด้วยหุ้นส่วนของเขาได้นำผ้า “ดุงการี” ที่เคยเป็นเพียงแค่ส่วนของกางเกงมาก่อนมาเพิ่มส่วนของเสื้อด้านบนและเพิ่มช่องสำหรับใส่ของต่างๆไว้ด้วย ทำให้ชุดเอี๊ยมเป็นสิ่งที่ผู้ใช้แรงงานถูกใจเอามากๆเพราะราคาถูก ทนทาน แถมยังเก็บของได้เยอะ ถึงขนาดที่ว่าในสมัยนั้นเอี๊ยมได้ถูกแบ่งแยกด้วยสีตามอาชีพ เช่น เอี๊ยมลายเส้นตรงสำหรับผู้ที่ทำงานถนน และสีฟ้าสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการเกษตร
ชุดเอี๊ยมในช่วงสงครามโลกและผู้หญิง
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้หญิงถูกบังคับให้สวมรองเท้าของผู้ชาย โดยรับงานในด้านวิศวกรรม ช่างกล และโรงงาน เนื่องจากผู้ชายต้องไปออกรบ เห็นได้ชัดว่าบทบาทเหล่านี้มักจะเกิดความสกปรกได้ง่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่ชุดเอี๊ยมจะกลายเป็นชุดทำงานสำหรับผู้หญิงแต่ก็ยังทนทาน
ชุดเอี๊ยมกับการประท้วง
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองเลือกที่จะสวมชุดเอี๊ยมยีนส์เพื่อเป็นการประท้วงจากระบบที่ให้คนงานผิวดำทำงานฟรีเพื่อแลกกับที่อยู่อาศัยซึ่งไม่เป็นธรรมกับพวกเขาเป็นอย่างมาก ในอีก100 ปีต่อมา ชุดเอี๊ยมก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นแรงงานที่ยากจนอีกครั้ง และเป็นสัญลักษณ์ที่เข้มแข็งของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของคนผิวดำ
ชุดเอี๊ยมจากวันนั้นสู่วันนี้
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมาชุดเอี๊ยมก็ไม่ได้เป็นเพียงชุดสำหรับชนชั้นแรงงานเท่านั้น แต่กลับโลดแล่นอย่างโดดเด่นในวงการแฟชั่นซึ่งเป็นที่นิยมอยากมากในวัยรุ่นหนุ่มสาวและจากการนำมาสวมใส่โดยดาราฮอลลี่วูดรวมทั้งในวัฒนธรรมกลุ่มฮิปปี้ที่ทำให้ชุดเอี๊ยมยังคงเป็นชุดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและโดดเด่นจนถึงทุกวันนี้