ตามอัพเดตล่าสุดที่ทาง ทปอ ได้ทำการประกาศ Exam Blueprint หรือตัวอย่างข้อสอบ #TGAT#TPAT และ A-level ออกมาแล้วนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักโครงสร้างและตัวอย่างข้อสอบกันว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง TGAT 1 : #การสื่อสารภาษาอังกฤษ จะแบบเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) ทักษะการพูด (Speaking Skill) – การถาม–ตอบ (Question-Response) 10 ข้อ – เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversations) 10 ข้อ – เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversations) 10 ข้อ (2) ทักษะการอ่าน (Reading Skill) – เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion) 15 ข้อ – อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension) 15 ข้อ โดยรูปแบบข้อสอบเป็นรูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือกและมีเวลาในการทำข้อสอบทั้งหมด 60 นาทีเท่านั้น จากการสังเกตและดูตัวอย่างข้อสอบพบว่าความยากของข้อสอบไม่ยากเท่ากับการสอบ GAT เหมือนในปีที่ผ่านมา แต่จะเน้นความเข้าใจทักษะในการพูดและการอ่าน แบบพื้นฐานมากยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อนนั่นเอง หากน้องๆจับจุดถูกแล้วคงไม่ยากเกินความสามารถที่จะหาแนวข้อสอบฝึกทำเอาไว้ล่วงหน้าเลย แต่ถ้าหากน้องๆคนไหนอยากมีตัวช่วยเป็นพี่ๆติวเตอร์
คัมภีร์สอบติดสำหรับน้องๆ ม.4-6 ที่อยากเรียนต่อคณะแพทย์หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คัมภีร์สอบติดสำหรับน้องๆ ม.4-6 ที่อยากเรียนต่อคณะแพทย์หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องวางแผนการเรียนตัวเองให้ดี เพราะ GPAX สำคัญมากถึง 20% ในการ #TCAS ในหลายคณะ ใช้ช่วงเวลา ม.4-5 สร้างเกรดให้ดีที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนต่อในคณะและมหาวิทยาลัยในฝันของน้องๆ วางแผนการอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนอยู่เสมอเพื่อไม่ให้สะสมในช่วงใกล้สอบ บางคณะที่ #รับตรง อาจมีการกำหนดเกรดขั้นต่ำในการรับเข้าศึกษา ซึ่งบางคณะอาจกำหนดเหรกขั้นต่ำสูงถึง 3.8 ต้องเตรียมพร้อมในรายวิชาใดบ้าง? ในความจริงแล้วทุกวิชาล้วนมีความสำคัญทั้วหมดเพราะในรอบการรับตรงร่วมกันมีการใช้เกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชา แต่วิชาที่ควรเน้นสร้างเกรดคงหนีไม่พ้น 5 วิชาหลัก คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภาษาอังกฤษ ควรเรียนเนื้อหาล่วงหน้าให้จบภายในเมื่อไหร่? ควรเก็บเนื้อหาทั้งหมดภายในปิดเทอม ม.5 เทอม 2 และต้องหมั่นทบทวนเนื้อหาเก่าอยู่เสมอ เพราะถ้าหากไม่ได้มีการทบทวนแล้วมาอ่านรอบเดียวก่อนสอบ #วิชาสามัญ เนื้อหาจะเยอะมากๆๆๆๆๆ อ่านไม่ทัน จำไม่หมดแน่นอน สัดส่วนหรือเนื้อหาในการออกสอบเป็นอย่างไร? เนื้อหาที่ใช้ในการสอบจะเป็นเนื้อหาตามหลักสูตรกระทรวงซึ่งเป็นเนื้อหาที่ค
แผนการเรียน ม.1-ม.3 วางแผนอย่างไรให้ทันสอบเข้า ม.4 รร.การแข่งขันสูง
เตรียมสอบเข้า ม.ปลายต้องอย่าประมาท วางแผนตั้งแต่ ม.1 เพื่อเก็บเนื้อหาทั้งหมดและทบทวนได้ทันก่อนสอบเข้า ม.4 ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ของทุกปี ทำไมการสอบเข้า ม.4 ถึงสำคัญ? เป็นโอกาสเพียงครั้งเดียว ไม่มีสอบซ่อม ไม่มีแก้ตัว โรงเรียน ม.ปลายมีการแข่งขันสูง โดยบางโรงเรียนมีการแข้งขันในอัตราส่วน 1:10 คนเลยทีเดียว ข้อสอบยาก และมีแนวเฉพาะที่ไม่เจอในการเรียนมาก่อน ทำข้อสอบไม่ค่อยทัน เนื่องจากโจทย์ยาวและซับซ้อน เนื้อหาออกกว้างครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ ม.1-3 หากเตรียมตัวมาไม่พร้อม โอกาสพลาดโรงเรียนในฝันมีสูงมาก เพราะจำนวนโรงเรียนยอดนิยมมีเก้าอี้ว่างรองรับนักเรียนได้ไม่เพียงพอสำหรับทุกความฝัน การสอบในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะส่งผลถึงการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาด้วย โรงเรียนที่ดีมีความสำคัญอย่างไร? โรงเรียนที่มีสังคมที่ดี วิชาการที่เข้มข้น เพิ่มโอกาสการสอบติดในคณะแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพอยางมาก โรงเรียนที่มีความนิยมสูง เช่น เตรียมอุดมศึกษา เคยมีอัตราการแข่งขันสูงถึง 1:10 มาแล้วในปี 2563 โรงเรียนประจำจังหวัดทั่วประเทศมีความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปีย้อนหลัง ทุกความสำเร็จล้วนเกิดจากการวางแผ
TOEIC TOEFL IELTS มันต่างกันยังไง แล้วควรสอบอันไหนคะแนนเท่าไหร่ดีนะ?
การสอบวัดระดับด้านภาษาอังกฤษจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่มหาวิทยาลัยและองค์กรทั่วโลกต่างก็ใช้เป็นส่วนประกอบในการพิจารณาคัดเลือกเข้าเรียนหรือเข้าทำงานซึ่งแต่ละที่ก็ใช้ข้อสอบที่ต่างกันออกไป บางที่ใช้ TOEIC แต่บางที่ใช้ TOEFL แล้วอย่างงี้เราควรสอบอะไรดีละ ถ้ายังงงๆและสับสนอยู่ตามน้องสกิลมา เดี่ยวช่วยเคลียร์ข้อสงสัยให้นะ
อยากเป็นหมอต้องสอบอะไรบ้าง?
การที่น้องๆจะสามารถเข้าเรียนเป็นหมอได้จะต้องผ่านการรับตรงร่วมกันของ กสพท.หรือ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยเสียก่อนดังนี้